Tuesday, April 8, 2014

Home work 5: How to apply Service Design to my project?

นำความรู้เรื่อง Service Design มาพัฒนาใช้กับโปรเจ็คงานได้อย่างไร?

          สำหรับโปรเจ็คของเรานั้นคือ LED Umbrella Project อย่างที่เคยกล่าวไปแล้ว กลุ่มของพวกเราต้องการแต่งเติมสร้างสีสันให้กับคนที่พบเห็น คนที่กำลังเบื่อกำลังเซงในบรรยากาศฝนตกๆ ซึ่งมักจะทำให้คนรู้สึกเหงาและเศร้าได้ง่าย พวกเราอยากเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนบรรยากาศ ทุบกำแพงเดิมๆของการใช้ร่ม มาพบกับร่มสมัยใหม่ที่เข้าใจคุณมากกว่าร่มแบบเก่าๆเพราะร่มของเรามีชีวิต

         ถามว่าทำไมพวกเราถึงมั่นใจและเรื่องทำร่มนี้ขึ้นมาก็ต้องบอกเลยว่ามาจากผมสำรวจล้วนๆ เพราะพวกเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคนสนใจและอย่างจะใช้งานหรือไม่การทำสำรวจช่วยให้กลุ่มของพวกเราตัดสินใจ และปรับแต่งขอบเขตความสามารถที่กำหนดไปก่อนหน้าให้ออกมาเป็นรูปร่างและสมจริงมากขึ้น จากตรงนี้จึงตอบคำถามว่า Service Design มาเกี่ยวข้องกับงานของเราได้อย่างไรเพราะ Service Design คือการการนำวิธีคิดและการปฎิบัติงานของการออกแบบมาพัฒนารูปแบบของงานบริการ ทำให้เราพบมิติใหม่ๆในการออกแบบเพื่อตอบความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วนซึ่งนำมาใช้ในงานของเราดังนี้

Exploration: คือการสำรวจและสรุปผลปัญหาหรือความต้องการของผู้ใช้งาน
         เราให้ความสำคัญกับ User เสมอเพราะพวกเขาคือผู้ใช้งานเป็นหัวใจหลักในการผลิตชิ้นงานชิ้นหนึ่งๆขึ้นมา มันเหมือนการทำ Usability test=Stakeholder Maps คือการสำรวจความต้องการ สำรวจข้อมูลของผู้ใช้งานซึ่งกับชิ้นงานนี้เราก็จัดทำผลสำรวจมาเช่นเดียวกัน
สรุปผลสำรวจได้ดังนี้






และนำผลที่ได้รับมาจับทำ Design Brief ในส่วนถัดไป

Creation
         จากผลทางข้างต้นทางกลุ่มของเราได้ทำการประชุมและทำการตกลงออกมาว่า โปรเจ็คนี้น่าทำจ้าเพราะได้รับความสนใจมีความแปลกใหม่ที่น่าทำ โดยเรากำหนดให้ชิ้นงานสามารถทำงานได้ดังนี้
Design scenario
- เมื่อฝนตกและกลางร่มในตอนกลางคืนหรือที่มือหลอดไฟจะติดเองอัตโนมัติ
- เมื่อเอียงร่มหรือสะบัดร่มไปทางใดร่มจะมีการตอบโต้กับท่าทางหรือลักษณะของร่มที่เปลี่ยนไป
- ถ้าร่มตั้งตรงจะแสดงรูปหน้าตายิ้นเพื่อสร้างบรรยากาศและทัศนียภาพที่ดีให้กับผู้ที่พบเห็น

***ป.ล. ยังไม่ได้สรุปแน่ชัดต้องทำการประชุมและปรับเปลี่ยนอีกรอบเพื่อความเหมาะสม

Implementation
           Prototyping : กำลังจัดทำและส่งภายในวันที่ 23 เมษายน ที่จะถึง

Thursday, April 3, 2014

Home work 4: Conclusion Service Design

           ปัจจุบันผู้บริโภคมีความซับซ้อนมากขึ้น การออกแบบให้สวยอย่างเดียวนั้นไม่พอต่อการใช้งานอีกต่อไปแล้ว สมมุติมีร้านค้าสองร้านซึ่งของที่ขายภายในเหมือนกันทุกอย่างคุณภาพเท่ากัน ราคาก็เท่ากัน อะไรคือสิ่งที่มีผลต่อการเรียกรู้ค่า อะไรคือตัวตัดสินให้เข้าใช้งาน มันก็คือ Service Design หรือการออกแบบการบริการของแต่ละร้านนั้นเองมีรายละเอียดดังนี้

การออกแบบการบริการให้มีประสิทธิภาพ
           ใช้หลักการ การทำการตลาดทั้งหมด 7Ps ประกอบไปด้วย
Product : ของที่จะขายคืออะไร เป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่
Price : ราคาที่เหมาะสมในการขาย ที่ราคาไม่แพงและถูกเกิดไปจนเราขายทุน
Place : สถานที่ตั้งเหมาะสมสำหรับการขายของชิ้นนั้นๆหรือไม่
Promotion : กิจกรรมที่ส่งเสริมการขายให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมสนุก
People : การสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ
Process : การออกแบบระบบที่ลูกค้าสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกราบลื่น
Physical Evidence : การออกแบบจุดให้บริการที่สร้างความสะดวกให้กันลูกค้า

การออกแบบการบริการ (Service Design) คืออะไร?
            การนำวิธีคิดและการปฎิบัติงานของการออกแบบมาพัฒนารูปแบบของงานบริการ ทำให้เราพบมิติใหม่ๆในการออกแบบเพื่อตอบความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน เติมรากฐานให้กับธุรกิจระยะยาวต่อๆไป โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นกระบวนการต่อเนื่องต้องทำซ้ำไปซ้ำมา

Exploration : ค้นคว้า, วิจัย และวิเคราะห์ เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงเพื่อจะนำไปสู่การออกแบบสิ่งที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
      Stakeholder Maps : ผู้ใช้งานผู้มีกำลังจ่ายในการซื้อหรือใช้งานผลิตภัณฑ์ รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร                                            จากเรา มองเห็นปัญหาจริงๆของระบบบริการอยู่ที่ไหน และอะไรคือสิ่งที่ต้อง                                            แก้ไขจึงจะสามารถตั้งโจทย์ที่ถูกต้องออกมาได้
      Contextual Observation : สังเกตบริบทการเข้าใช้งานของลูกค้า
      Shadowing : บันทึกรายละเอียดระหว่างการใช้บริการจริงๆ
      In-Depth Interview : สัมภาษณ์ในเชิงลึกกับลูกค้าเพื่อรับทราบปัญหาโดยตรง

สรุป
      ผลการสำรวจจากส่วนข้างต้น โดยเมื่อเก็บผลได้ก็นำผลที่ได้มาสรุปและนำมาวิเคราะห์โดยแบ่งเป็นหัวข้อเมื่อแบ่งตามหัวข้อดังกล่าวแล้วให้นำเอาสิ่งที่ได้มาสรุปเป็นโจทย์ที่จะใช้ในงานออกแบบ(Design Brief)
      Problem : ปัญหาที่พบ
      Opportunities : โอกาสในการแก้ปัญหา
      Insights : ความเข้าใจเชิงลึก
      Needs : ความต้องการของลูกค้า
      Themes : การจัดกลุ่ม
    
Creation : นำผลสรุปที่ได้มาใช้ในการออกแบบความคิด หรือการนำปัญหาจากขั้นตอน Exploration มาเป็นโจทย์ในการออกแบบแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการออกแบบรูปแบบการบริการให้ดีขึ้น
     Design scenario : จำลองเหตุการหรือรูปแบบที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นใช้งานรวมถึงเหตุการณ์ที่อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดด้วย
     Customer Journey : เห็นภาพรวมของทั้งกระบวนการทุกขั้นตอน
          แนวทางในการออกแบบที่ดีเกิดจากส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างเหตุผลและแนวความคิดสร้างสรรค์ซึ่งจะทำให้ได้งานการออกแบบบริการที่ตอบโจทย์ทุกขั้นตอนทั้ง ก่อนการใช้บริการ ระหว่างการใช้บริการ และหลังการใช้บริการ และสร้างคุณภาพที่ดีให้กับธุรกิจอีกด้วย

Implementation : ทดลองและปรับปรุงให้แนวคิดที่ได้จากขั้นตอน Creation มาปรังปรุงเพื่อให้ใช้งานได้จริง
     Prototyping : ชิ้นงานต้นแบบ ทำขึ้นเพื่อมาทดลองว่าถ้าใช้งานจริงนั้นผู้ใช้งานจะมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งของอย่างไรกับแนวคิดนั้นๆ
     Evaluate : หลังจากที่ทดลองใช้ให้เตรียมแบบประเมินผลไว้เพื่อจะได้บรรทึกส่วนที่ผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ไว้
     Service Blueprint : พิมพ์เขียวการบริการ คือ ระบบของงานบริการที่กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อที่จะให้ทุกคนทุกตำแหน่งหน้าที่เข้าใจระบบในการใช้งานสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม ทำให้คนทำงานเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ ไม่ว่าใครจะมาทำงาน หรือปฏิบัติก็สามารถทำได้ ซึ่งพิมพ์เขียวการบริการนั้นจะระบุ ถึงขั้นตอนของการบริการ จุดติดต่อกับลูกค้า บทบาทของลูกค้าและพนักงาน กระบวนการสนับสนุน และองค์ประกอบทางกายภาพต่างๆเช่น อุปกรณ์ สถานที่ ฯลฯ ที่ใช้ในการบริการ

    ในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูงอย่างปัจจุบันนี้ การบริการที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจมีคุณค่าสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับลูกค้าให้กลับมาใช้บริการเรื่อยๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในระยะยาว

Home work 3: Interaction Design

แสดงความคิดเห็น

Wednesday, April 2, 2014

Lecture 9: Usability Engineering II


          บทความที่แล้วที่พูดถึงเกี่ยวกับการทำ Usability Engineering พวกการสำรวจ ตรวจสอบ สอบถาม และอื่นๆเพื่อให้ได้ว่าควรทำสิ่งต่างๆหรือไม่ โดยในส่วนนี้เราจะพูดถึงเมื่อเราได้ทำผ่านขั้นตอนก่อนหน้านี้มาแล้วนั้นจะทำอะไรต่อไปนั้นก็คือ ส่วนของการทดสอบจ้า ในส่วนนี้จะว่ากันด้วยเรื่องการทดสอบ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความพึงพอใจ ความสามารถในการเรียนรู้และข้อผิดพลาด
          "เราควรจะมีการทำลองก่อนการใช้งานจริงเสมอเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดจากความตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจของคนใช้งานเพื่อให้ชิ้นงานออกมา สมบูรณ์แบบที่สุดในวันดำเนินงานจริง"

Efficiency

          ประสิทธิภาพ คือการวัดความสามารถของสิ่งของนั้นๆกับเวลาว่าผู้ใช้งานใช้เวลานานเท่าไรที่จะเข้าใจและใช้งานสิ่งของนั้นๆได้ ความสามารถในการทำงาน

Effectiveness 
          ประสิทธิผล คือปัญหาของการใช้งานสิ่งของนั้นๆว่ามีปัญหาไหมและผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้

Satisfying
          ความพึงพอใจของผู้ใช้งานว่า ชอบหรือไม่ชอบชิ้นงานนี้หรือว่าพอใจกับชิ้นงานหรือไม่ โดยจากส่วนนี้เราจะทราบได้ว่าชิ้นงานที่เราทำนั้นมันยากไปหรือง่ายดีแล้วสำหรับการที่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้จริง

Learn ability
          ความสามารถในการเรียนรู้วิธีการใช้งานนั้นของผู้ใช้งานแต่ละคนไม่เท่ากันเราจะต้องรู้กลุ่มเป้าหมายและพยายามออกแบบวิธีการใช้งานที่ง่ายที่สุดเพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเปิด Manual ทุกครั้งก่อนการใช้งาน

Errors

          ข้อผิดพลาดมีด้วยกัน 2 แบบคือข้อผิดพลาดที่เจตนาและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยข้อผิดพลาดโดยเจตนาคือข้อผิดพลาดที่เกิดจากผู้ดำเนินการหรือคนผลิตที่ทำมาแล้วเกิดความผิดพลาด แต่ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจนั้นคือข้อผิดพลาดที่เกิดจากการไม่เข้าใจหรือว่าความเข้าใจผิดของผู้ใช้งานทำให้พบข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
เราสามารถแบบข้อผิดพลาดจากผลที่เกิดขึ้นได้ 4 อย่าง ดังนี้
1. Minor errors : ข้อผิดพลาดที่หาเจอง่ายและทำการแก้ไขได้ง่าย
2. Major errors : ข้อผิดพลาดที่หาเจอง่ายแต่แก่ยาก
3. Fatal errors : ข้อผิดพลาดที่หาเจอพอทำการแก้ไข เมื่อแก้ไขแล้วนั้นทำให้ส่งผลกระทบกับส่วนอื่น
4. Catastrophic errors : ข้อผิดพลาดที่มีผลข้างเคียงอื่นๆเช่น การที่ข้อมูลหาย

Time

          เวลาเป็นหนึ่งในการวัดประสิทธิภาพ มันก็วัดว่าระยะเวลาที่จะใช้เวลาในการดำเนินงาน


Monday, March 24, 2014

Lecture 8: Usability Engineering I

Usability engineering
     Usability คือการใช้งาน จึงเป็นที่มาของการทำ Usability Test คือการทดลองก่อนการใช้งานซึ่งไม่ได้มีแค่ขึ้นตอนสุดท้ายก่อนการใช้งานแบบที่ทุกคนเข้าใจเท่านั้นแต่การทำดังกล่าวรวมไปถึงตั้งแต่การหาหัวข้อที่จะทำงานด้วยซึ่งเราจะต้องมองว่าเหมาะกับสภาพแวดล้อมแบบใดและลองรับการทำงานของผู้ใช้งานแบบใด โดยมีวิธีหลายอย่างที่เราสามารถนำมาช่วยในการทำ Usability ได้ เช่น Paper photo type, แบบสอบถาม, การสำรวจ, การเก็บบันทึก, การสัมภาษณ์ 
      "การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนกันจะได้คำตอบที่ไม่เหมือนกัน ต้องเลือกเครื่องมือให้เข้ากับงานที่เราอยากจะได้นะจ๊ะ เช่น งานโปรเจ็คของเรานั้นตอนแรกอยากจะหาว่าปัญหาอะไรนะที่มันควรช่วยกันแก้ไขเลยลองสัมภาษณ์กับคนตัวต่อตัวทำให้ทราบว่าปัญหาเดินทางกลับบ้านในตอนกลางคืนดึกๆคนเดียวนั้นทำให้คนทั่วไปรู้สึกกลัวไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงที่อายุแตกต่างกัน หรือเลือกใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเพื่อมาทำการอ้างอิงในการตัดสินใจเลือกความสามารถให้กับแอพพลิเคชั่นของเราให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานให้มากที่สุด"
Know the user
      ก่อนจะทำสิ่งอื่นใด เราจะต้องรู้ก่อนว่าใครคือผู้ใช้งาน ความสามารถของผู้ใช้งานว่าเป็นผู้ใช้งานประเภทใด ใช้งานเพื่อทำอะไร ในสภาพแวดล้อมแบบไหน ถ้าเรารู้ก่อนเราจะสามารถสร้างงานที่ดีได้เพราะตรงกับผู้ใช้งาน
การสนทนาอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทาง:หลอกถามชวนคุยไปเรื่อยๆเพื่อเก็บข้อมูล
สังเกต: เครื่องมือที่มีประโยชน์ในการหาวิธีการที่คนทำงานจริงไม่ให้คนที่เราสังเกตุรู้ตัว
Circumvent ถ้ารู้ว่าถูกมองท่าทางกิริยาจะเปลี่ยนไป ควรหลีกเลี่ยงที่จะทำให้user สังเกตเห็น
Hawthorne รู้ว่าถูกสังเกตุแต่แกล้งเนียนทำเป็นเหมือนไม่เห็น ยังเล่นเกมแต่ก็ทำเป็นเหมือนตั้งใจเรียน 
Ethnography = Observation process ที่ฝังตัวอยู่แบบไม่ให้แปลกแยก ส่งคนเข้าไปสำรวจจากสถานที่จริง แต่เป็นการเข้าไปสำรวจแบบกลมกลืนเขารุ้ว่าเราไม่ใช้คนในบริษัทหรือหมุ่บ้านแต่การแต่งตัวหรืออะไรหลายๆอย่างที่เรากลมกลืน
แบบสอบถาม: ได้ผลดีสำหรับเรื่องการสังเกตุวิสัยการตอบสนอง แต่สังเกตุได้น้อยสำหรับวัตถุประสงค์ 
             การทำแบบสอบถาม ก็เพื่อจะได้รู้ว่ามีคนสนใจโปรเจคที่เราจะทำไหม อยากจะใช้ไหมหรือไม่ เมื่อเราผลิตออกมา โดยการถามจะถามไม่มากและเมื่อครบจำนวนที่ต้องการก็สรุปออกมาพิจารณา โดยที่แบบสอบถามสามารถถามทั้งปลายเปิด และ ปลายปิด โดยภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่ไม่กำกวม ถามตรงๆประเด็นหรือ yes/no question หรือให้ระดับเป็นสเกลก็ได้
สัมภาษณ์: คำถามที่ปิดและคำถามผสม 
กิจกรรมบันทึก: หากต้องการทราบว่าผู้ใช้อย่างไร และระยะเวลาที่ใช้เวลา
             หลักการทั้งหมดคือต้องการดู user behavior ของคน เพราะสามารถดูได้เยอะ เพราะคนพยายามจะเล่น ลองทดลอง ทำไม activity logging จึงสำคัญ ใช้ในเกมส่วนใหญ่จำท่าทางในการเล่นของคนเล่นและทำให้ยากขึ้นเรื่อยๆ
Topic พัฒนา algorithm ให้มันดีขึ้น
โดยแต่ละวิธีที่ได้กล่าวไปข้างต้น สามารถเลือกใช้ได้ให้เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการจะได้ข้อมูลแบบไหนจะได้ข้อมูลออกมาไม่เหมือนกัน
แบ่งตามหมวดหมูการใช้งาน
Direct user ได้รับผลจากการใช้งานโดยตรง, Indirect user ไม่ได้รับผลจากการใช้งานโดยตรง
Remote user, Support user    
แบ่งตามความสามารถในการใช้งาน
Novice user           มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์น้อยมากถึงไม่มีทักษะ ต้องการคนสอน
Intermittent user    คนที่ใช้งานแรกๆ
Expert user           ต้องการความช่วยเหลือน้อย สามารถใช้งานและศึกษาเองได้
Task analysis   รายการสิ่งที่ต้องทำว่าจะต้องทำอะไรตามขั้นตอนเพื่อให้งานออกมาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับการวิเคราะห์ผลงานมักจะวิเคราะห์ออกมาเป็นรูปของกราฟของงานหรืองานย่อย เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์และศึกษาต่อไป

Friday, March 14, 2014

Outside 4: TCDC


       ครั้งนี้เราจะพาทุกคนเที่ยวชมกันใน TCDC กันนะค่ะทางไปก็ง่ายเหมือนเคยจ้า แค่เราไปที่เอ็มโพเรียมและขึ้นมาที่ชั้นบนสุดเราก็สามารถพบกับ TCDC ได้จ้า โดยที่ TCDC นั้นจะแบ่งส่วนออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ด้วยกันคือ นิทรรศการถาวร นิทรรศการเวียนซึ่งตอนที่ไปจะเป็นเรื่อง Hello world และสุดท้ายคือส่วนของห้องสมุดจ้า

นิทรรศการถาวร
         ที่ TCDC นั้นจะเน้นเรื่องของเทรน แฟชั่น ดังนั้นในนิทรรศการถาวรจึงนำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นวิวัฒนาการของแต่ละสมัยว่าในสมัยนั้นๆตั้งแต่สมัยโบราณของทั่วทุกมุมโลกมีการวิวัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง




นิทรรศการเวียน
         อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านะจ๊ะว่าช่วงที่ไปนั้นกำลังนำเสนอนิทรรศการเรื่อง Hello World อยู่ โดยหลักๆก็คือนำเสนอเรื่องราวความเป็นไป การเปลี่ยนแปลงต่างรอบๆโลกโดยนำเสนอด้วยการแบ่งออกเป็น 4 หมวดในการเล่าเรื่องราวด้วยกัน คือ เหมือนหรือต่าง, บิด ปรับ แปลง, ของเก่าเท่ากับคุณค่าใหม่ ของใหม่คลี่คลายโจทย์เก่า และสุดท้ายโลกที่เป็นหนึ่งเดียว
เหมือนหรือต่าง
     จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบนโลกนี้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างแม้มันมีเหมือนๆกันแต่ในความเหมือนนั้นก็ยังคงมีความต่างที่เป็นของตนเองโดยยกตัวอย่างเมือง New York
     
     ยกตัวอย่าง 3 สิ่งด้วยกันที่เป็นเหมือนเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมือง New York คือบ้านที่มีบันไดหน้าบ้าน, รถแท็กซี่สีเหลือง และสวนสาธารณะกลางเมือง ซึ่งเมื่อเราเห็นเราสามารถบอกได้ทันทีว่านี่หละเมือง New York


        ยังมีอีกหลายอย่างที่บอกความเป็น New York ได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่บ่งบอกวิธีชีวิต การแต่กาย การเดินทาง หรือแม้แต่โลโก้สินค้า 


       และปิดท้ายด้วยการกระแทกแรงๆให้เรามองกระจกแล้วบอกว่าแล้วตัวเราหละ จริงๆเราเป็นแบบไหน

บิด ปรับ แปลง
        เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับไอเดียความคิดว่าถ้าเรานำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในแต่ละที่ ในแต่ละความชอบบางทีมันอาจจะเป็นการเข้ากัน หรือเกิดไอเดียใหม่ที่มันเจ๋งมากๆจนได้รับความนิยมก็เป็นได้

       นิทรรศการได้นำเสนอ แนวคิด ด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆทั่วๆไปหลายประเทศ ดังนี้

        รวดลายของชุดทหารที่เปลี่ยนไปตามสภาพอากาศของแต่ละตำแหน่ง หรือขนมช็อกโกแลตที่แถมของเล่นในต่างประเทศที่หนาวๆ จะทำได้เนื่องจากช็อกโกแลตจะไม่ละลายแต่เมื่อเปลี่ยนมาขายให้คนแถบร้อนทำให้ต้องเปลี่ยนแพคเกจใหม่เพื่อจะได้ลองรับต่อสภาพอากาศ

        หรือถุงโชคดีที่เป็นกุศโลบายในการระบายของของทางร้านที่จะบรรจุของในราคาที่เท่ากันและนำมาวางให้คนเสี่ยงดวงดูเมื่อซื้อไปใช้ หรือไม่ว่าจะเป็นชุดใส่แฮมเบอร์เกอร์ที่ออกแบบมาเพื่อบังปากและใบหน้าทำให้ยอดขายของทางร้านเพิ่มมากขึ้น

       นี่เป็นตัวอย่างสิ่งของที่พยายามจะบิด ปรับ เปลี่ยน มากเกินไปโดยที่ไม่คำนึงถึงคนที่อยู่ ทำให้เป็นการบิด ปรับ เปลี่ยน ที่เกิดความผิดพลาดชิ้นโตของประเทศจีนที่พยายามจะเปลี่ยนเมืองๆหนึ่งให้กลายเป็น ปารีส

ของเก่าเท่ากับคุณค่าใหม่ ของใหม่คลี่คลายโจทย์เก่า
      เป็นการนำเสนอสิ่งของจากสองแนวคิดที่ต่างกันคือ ของเก่านำมาดัดแปลงให้ใช้งานได้ใหม่กับ สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้นมาแก่ไขปัญหาเก่าๆ

หมวดแรกของเก่าเท่ากับคุณค่าใหม่
      เป็นการนำของเก่าๆที่มีอยู่เดิมๆมาเพิ่่มไอเดียเพิ่มมูลค่า อย่างจดหมวยเป็นการส่งข้อความในแบบเก่าๆแต่กลับถ่ายทอดส่งความรู้สึกให้กับเราได้เป็นอย่างดี ให้ที่นี้เปลี่ยนหมึกที่ใช้เขียนจดหมายจากหมึกธรรมดาเป็นหมึกกลิ่นกุหลาบที่ส่งถ่ายทอดความรู้สึกถึงผู้รับ  หรือไม่ว่าจะเป็นกล้องโพราลอยด์ธรรมดาๆแต่เรานำมาปรับเปลี่ยนให้มันใช้งานควบคู่กับโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันได้

      ร้านขายของมือสองในญี่ปุ่นเพิ่มมูลค่าและความรู้สึกให้กับของมือสองโดยของมือสองทุกชิ้นที่ถูกขายในร้านนั้นจะมีข้อความจากเจ้าของเก่าบอกเล่าว่าทำไมจึงอยากจะนำของใช้มาขายต่อเช่นต้องการส่งความรู้สึกดีๆเวลาใช้ให้กับคนอื่นได้ทดลองใช้ หรือไม่ว่าจะเป็นโปรเจ็คนำกางเกงยีนไปให้คนหลายๆอาชีพใส่จากนั้นนำกลับมาและขายต่อรายในกางเกงของคนแต่ละอาชีพก็จะไมาเหมือนกันเป็นการสร้างจุดขายให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดีทีเดียว

       ส่วนชิ้นนี้เป็นเหมือนจุดขายของที่นี่เลยจ้าเพราะนำเครื่องพิมพ์ดีดมาดัดแปลงให้สามารถใช้งานกับไอแพทได้เปรียบเสมือนเป็น Key Board ให้กับจอไอแพท

ของใหม่คลี่คลายโจทย์เก่า
        แนวคิดเกี่ยวกับปํญหาที่มีแต่อดีตแต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้แต่ตอนนี้มีนวัตกรรมที่จะมาตอบโจทย์เรียบร้อยแล้ว อย่างเช่น บวบเราคงคิดว่าสามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารได้เพียงอย่างเดียวแต่จริงๆแล้วเราสามารถนำบวมมาสะกัดและทำที่ดักเสียงในห้องเก็บเสียงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นเสื้อหนาวที่ถ้าต้องการป้องกันหิมะเราก็จะซื้อเป็นขนเป็ดแบบทางด้านขวาแต่ปัจจุบันนวัตกรรมนั้นก้าวไกลเราสามารถใส่เสื้อหนาวตัวบางๆทางด้านซ้ายก็สามารถป้องกันความหนาวได้แล้ว

        หรือไม่ว่าจะเป็น3D printing ที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราที่ต้องการประดิษฐ์ของเราสามารถประดิษฐ์ของขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของเราได้โดยที่สามารถออกแบบเองได้

โลกที่เป็นหนึ่งเดียว
       จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นทำให้คนทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกทำอะไรก็ได้ตามที่ใจต้องการ โดยไม่ต้องยึดติดกับสิ่งใดๆ

       การที่เรามีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกให้ตัวเองขาวหรือว่าดำก็ได้เพราะทุกวันนี้นวัตกรรมนั้นก้าวไกลมากมายที่จะมาช่วยตอบโจทย์ในสิ่งที่เราอยากได้ หรือแม้แต่ผู้ชายที่อยากจะเขียนคิ้วเพื่อให้ตัวเองดูดีก็สามารถทำๆได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นที่กันคิ้วแต่งหน้า

        ในตอนท้ายเราสามารถมาเล่นกันจอภาพซึ่งจอภาพอันนี้จะรวบรวม # ของานทุกๆชิ้นที่จัดแสดงว่าเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง เช่น เรากดเลือก # เรื่องความเชื่อ ผลงานหรือชิ้นงานไหนที่เกี่ยวข้องก็จะแสดงโชว์ให้เห็น

ห้องสมุด
       เป็นห้องสมุดที่รองรับคนที่กำลังมองหาหนังสือแนวอาร์ท เทรน วัสดุต่างเหมาะแก่คนเรียนด้านศิลป์และคนที่มีความคิดอยากจะเปิดธุรกิจใหม่ๆจะเหมาะมากเพราะมีหนังสือรองรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ มีการใช้งานที่ Interact กับผู้ใช้งานที่เห็นหลักก็มีอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือผู้ใช้งานสามารถเข้าชมชั้นหนังสือแต่ละชั้นผ่านจอสัมผัสได้ว่าแต่ละชั้นมีหนังสืออะไรบ้าง กับอีกอย่างหนึ่งทีเป็นการใช้งานเสริมคือที่นี่ไม่มีการยืมคืนหนังสือ ถ้าผู้สนใจต้องการอ่านหนังสือจะต้องเข้ามาอ่านภายในห้องสมุดเท่านั้นทำให้ผู้ใช้งานจะต้องลำบากในการจำว่าหน้าที่อ่านนั้นค้างอยู่ที่หน้าไหนที่ให้ออกระบบที่คั่นหนังสืออัจฉริยะขึ้นมาคือ เมื่อเสียบคั้นไว้บรรณารักษ์จะทำการเซฟเลขหน้าเก็บไว้ให้กับผู้ใช้งานเมื่อมาใช้งานครั้งถัดไปสามารถเข้าอ่านข้อมูลได้ว่าอ่านค้างไว้ที่หน้าที่เท่าไร  

       ทางเข้าและทางออกของห้องสมุดจะมีบริการรับฝากนามบัตรให้กับสมาชิกอีกด้วยโดยจะแบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างดีเพื่อมีผู้สนใจก็สามารถมาหยิบไปได้

ฟังบรรยายในห้อง

          วันนี้ก็มีโอกาสได้ฟังเรื่องราวจากประสบการณ์จริงของผู้อำนวยการที่ TCDC ท่านได้อธิบายตอบปัญหาเรื่องที่พวกเราอยากรู้มากมาย และจากการฟังให้ความรู้สึกเหมือนการคุยกับรุ่นพี่มากกว่างั้นจะขอเรียกแทนว่าพี่นะจ๊ะ พี่เขาดูมีประสบการณ์มากในเรื่องของการทำมิวเซียม พี่เขาพูดคำหนึ่งที่ว่าถ้าให้อยากทำงานด้านนี้เราจะต้องโชว์ความแรด ความเจ๋งของเราออกมาให้ได้ โดยพี่เขาเล่าประสบการณ์ที่ได้ทำงานร่วมกับชาวต่างชาติ เช่น พี่เขาเล่าว่าของที่เช่ามาจากต่างชาติถูกนำมาด้วยวิธีที่เป็นพิธีรีตรองเช็คของเข้มมากทั้งตอนเอาของเข้าแล้วเอาของออก แต่พี่เขาบอกว่าการทำงานแบบนี้ก็ไม่ได้ลำบากซะที่เดียวแต่ว่าการทำงานแบบนี้ทำให้พี่เขาและทางทีมงานได้ฝึกฝนตนเองมากด้วย จากที่ฟังทำให้รู้สึกว่าท่าเราใจรักเราก็สามารถทำงานแบบนี้ได้เพราะของแบบนี้มันฝึกกันได้ พี่เขาเริ่มจากที่ตอนแรกไม่รู้ด้วยซำว่า 500 เมตรมันยาวขนาดไหน ดีค่ะได้ฟังจากผู้ที่ประสบการณ์จริงๆ เพราะมันทำให้เราได้อะไรเยอะดีค่ะ