Wednesday, January 29, 2014

Lecture 2: Universal Design & Thai Health Center


Universal Design & Thai Health Center

           บทความนี้จะพูดเกี่ยวกับเรื่องของ Universal Design โดยจะกล่าวในมุมมองของ Thai Health Center หรือ สสส. Universal Design  คือการออกแบบวางแผนมุมต่างๆหรือ Content ต่างๆว่าเราอยากให้มันออกมาในแนวทางไหน คือ จะโชว์เนื้อหาอะไร, ทำขึ้นมาเพื่ออะไรและเล่นยังไง โดยระดมความคิดและเขียนออกมา เราเป็นผู้ชมนิทรรศการเราจะไม่รู้เลยว่ากว่าจะออกมาเป็นนิทรรศการหนึ่งๆนั้นผ่านการคิดมาแล้วกี่ขั้นตอน Universal Design ก็เป็นหนึ่งในขั้นตอนดังกล่าวนั้นโดยในมุมมองของ


User/Visitor


          จะได้รับข้อมูลหรือความรู้จากการสื่อความหมาย หรือความรู้ที่เราแฝงมาในผลงานนั้น ผู้ชมนั้นจะได้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกันแต่จะไม่ต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และมุมมองในการคิดของแต่ละบุคคล





Developer/Designer



          ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึง ทั้งฝ่ายของผู้เข้าชมและ Concept ของตัวชิ้นงานเองเพื่อจะได้ไม่เปลี่ยนความหมายและความตั้งใจเดิมของตัวชิ้นงาน โดยส่วนนี้ผู้วางแผนจะต้องคิดว่าจะวางแผนออกแบบมาอย่างไรเพื่อให้ชิ้นงานสื่อความหมายและทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้โดยง่าย และสนุกไม่จำเป็นต้องบอกข้อมูลหรือความรู้ผู้ใช้งานออกมาตรงๆแต่แฝงอยู่ในวิธีการนำเสนอก็ได้




         เมื่อเราต้องออกแบบชิ้นงานออกมาสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือหัวใจหลักของ Interactive computing นั้นก็คือ Interactivity และ Physical computing นั้นก็คือท่าทางในการโต้ตอบว่าจะโต้ตอบอย่างไรและจะโต้ตอบกับสิ่งใด พวกนี้เราจะต้องคิดก่อนสิ่งอื่นเสมอเพราะชิ้นงานจะดีหรือไม่ดีไม่ได้อยู่ที่การโปรแกรมแต่อยู่ที่ไอเดียในการคิดว่าจะทำออกมาแล้วตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน ผลงานจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จเราสามารถวัดได้ที่เสียงตอบรับของผู้ชมนั้นเอง ถ้าการตอบรับดีก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว

       "ในเมื่อการตีความทางความคิดของแต่ละบุคคลไม่เท่ากันตรงนี้อาจจะเป็นส่วนที่สนุกที่สุดในการทำงานด้าน interactive Computing ก็เป็นไปได้เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสิ่งไหนที่เราทำมาแล้วจะได้รับความนิยมมันอาจจะดูธรรมดามากๆในความคิดของเราโปรแกรมมิ่งนิดเดียวก็อาจจะได้งานชิ้นนั้นๆออกมาแล้วแต่มันอาจจะยากมากในความคิดของคนหลายๆคน งั้นเราก็ควรมองกว้างๆและคิดนอกกรอบเพื่อเราจะได้ไอเดียที่มันดีและไม่เหมือนใคร"

Universal Design for Learning Guidelines
1. Representation วิธีการนำเสนอ
2.Expression การใช้งานของชิ้นนั้นว่าโต้ตอบกันยังไง
3.Engagement ความน่าสนใจ ทำให้คนร้อง Wow ได้อย่างไร

การทำงานของสมอง 

         Universal Design ของ Thai Health Center นั้นได้เขียนอยู่ในบทความชื่อ Homework 1 สามารถเข้าไปอ่านและทำความเข้าใจได้โดย กลุ่มของข้าพเจ้าได้เลือกห้องที่ 4 ของ ตึก Thai Health Center มาลองเขียนนั้นก็คือห้อง Thai Health


Recognition Network รู้ว่ามันคืออะไร What?
Stratgie Network เราจะแสดงมันออกมายังไง? จะนำเอามาโชว์ How?
Affective Network รู้สึกชอบจึงทำให้อยากใช้งาน

Tuesday, January 28, 2014

Outside 1: Thai Health Center


นิทรรศการ สสส. นั้นมีด้วยกัน สี่ ห้องคือ ห้องME ห้องWE ห้องGREEN และห้องTHAI HEALTH



           เมื่อไปถึงเราสามารถเดินเข้าไปหาพี่ๆที่ประชาสัมผัสได้นะค่ะ เขาจะมีคนนำชมพิพิธภัณฑ์ให้ด้วย ฟรีจ้าแนะนำให้เดินเข้าไปหาเลยพี่ๆน่ารักมากและยังทำให้เราเข้าใจถึงเนื้อหาที่พิพิธภัณฑ์ต้องการสื่อกับเรามากขึ้นด้วยนะ และจะมีโบชัวร์แจกด้วย ข้างในก็จะมีความรู้เกี่ยวกับ สสส. แนะนำไว้อยู่จ้า


           โดยจุดเริ่มต้นของนิทรรศการจะจำลอง เชิงการของแม่เพื่อสือถึงการเดินทางตั้งแต่เราเกิดจากแม่

             เมื่อเดินไปเรื่อยๆเราจะเข้าสู้ห้องที่เปิดวิดีโอ ตรงนี้เราจะได้ชม คลิปวิดีโอของชายคนหนึ่งซึ่งเป็นช่างถ่ายภาพแต่ขาพิการเขาไม่ย้อท้อที่จะใช้ชีวิตต่อซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่ปลุกใช้ให้คนลุกขึ้นมาสู้อย่าโทษตัวเองว่าพิการและมาทำให้เป็นอุปสรรคในชีวิต อย่าโทษว่าตนเองไม่พร้อม เพราะทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราถ้าเราคิดว่ามันดีเราก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ 


               เมื่อเดินจะเข้าสู่ห้องถัดไประหว่างทางเราจะเจอกับกระจกเพื่อสะท้อนตัวเราว่า แล้วเราหละเลือกที่จะเป็นแบบไหน อยากให้ตนเองเป็นแบบไหน เมื่อเข้าสู่อีกห้องหนึ่งจะพบกับคลิปวิดีโอซึ่งจะพูดถึงว่าถ้าเรารู้สึกท้อรู้สึกเหนื่อยและเราหยุดพัก ยอมแพ้ไม่ยอมไปต่อ แต่มีบุคคลพระองค์หนึ่งซึ่งไม่เคยย่อท้อแม้เวลาเหนื่อย บุคคลพระองค์นั้นก็คือพระเจ้าอยู่หัวของพวกเรานั้นเองเมื่อชมคลิปวิดีโอจบเราจะจบการเดินนิทรรศการในส่วนของห้อง ME

     

           ห้องถัดไปที่ต้องเดินชมนั้นคือห้อง WE แต่เนื่องจากปิดซ้อมจึงไม่สามารถลงไปเข้าชมนิทรรศการในส่วนนั้นได้
 

           ห้องถัดไปที่เข้าชมคือห้อง GREEN ห้องนี้จะพูดเกี่ยวกับธรรมชาติรักโลก ลดมลพิษด้วยการปั้นจักรยานเสริมสุขภาพและเรื่องการรณรงค์แยกขยะ เป็นหัวข้อใหญ่และจะมีนิทรรศการอีกส่วนหนึ่งเป็นนิทรรศการที่บอกว่าตัวตึกของ สสส. นั้นรักโลก รักธรรมชาติอย่างไร

         

       


           ห้องสุดท้ายคือห้อง THAI HEALTH ห้องนี้จะพูดถึงประวัติของ สสส. และผลงานการทำงานที่ผ่านๆมาของ สสส. แต่มีการนำเสนอในวิธีที่น่าสนใจผ่านทาง การดูคลิปโฆษณา การฟัง MP3 ฟังเพลง และเล่นจอสัมผัส ซึ่งจะมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆที่ผ่านมา


            ตรงจุดนี้ก็จะจบนิทรรศการของ สสส. เป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่ทาง สสส. ยังมีประติมากรรมอีกทั้งหมด 7 ชิ้นเพื่อสื่อความหมายและสโลแกนของทาง สสส.










เป็นไงเมื่ออ่านจบแล้วเพื่อนๆอยากจะลองไป สสส. กันบ้างรึป่าวลองไปดูนะไม่ลองไปเองไม่รู้หรอก



Saturday, January 25, 2014

Recommend 1: Chateau De Laval ในปราสาทเก่าๆข้างในมันมีอะไร?


           ครั้งนี้พวกเราอยากจะแบ่งปันเรื่องเราที่เราได้มีโอกาสเขาไปชมปราสาทเก่าภายในเมือง Laval ของ ฝรั่งเศส โดยเมือง Laval นั้นอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงปารีสใช้เวลาในการเดินทางด้วยรถไฟเพียงแค่ชั่วโมงกว่าๆเท่านั้น เป็นเมืองเล็กๆน่ารักอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่งดงามจ้า
   

          ครั้งหนึ่งพวกเราได้มีโอกาสเดินทางไปชมปราสาทเก่าของเมืองเคยสงสัยกันไหมว่าข้างในปราสาทเก่าๆแบบนั้นมันมีอะไรกันนะฮาๆ เมื่อพวกเราไปถึงเราก็พบว่า เขาดัดแปลกปราสาทเก่าหรือที่ภาษาฝั่งฝรั่งเศสเรียกกันว่า ชาโต้ นั้นเอง ถูกดัดแปลกให้เป็น พิพิธภัณฑ์ หรือจะเรียกว่าแกลอรี่ก็เข้าทีนะเพราะว่าข้างในนั้นจะโชว์ภาพวาดต่างๆ เรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเมือง Laval หรือไม่ว่าจะเป็น ภาพวาดเชิงศิลป์ที่คนในเมืองนั้นวาดและนำมาจัดแสดงโชว์ หรืออาจจะมีการโชว์พวกวัสดุเก่าบ้างที่ชุดค้นพบในปราสาทแห่งนี้มีภาพมาให้ชมด้วยนะจะได้ดูวีธีนำเสนอภาพวาดของเขากัน อ่อต้องบอกก่อนว่าที่นี่พวกเราเข้าฟรีจ๊ะ คนดูแลน่ารักมากเขาถามว่าเราเป็นนักศึกษาใช่ไหมแล้วก็ให้เข้าชมฟรีด้วยนะ

มุมภาพวาดเชิงศิลป์และประติมากรรมเชิงศิลป์ (แบบอาร์ทๆ)



ภาพวาดสถานที่สำคัญๆทั้งในกรุงปารีสและในเมืองลาวาล





ภาพวาดเชิงศาสนาเรื่องเล่าประวัติ


ภาพวาดบุคคลสำคัญๆในเมืองนี้



           สิ่งที่จะให้ชมต่อไปนี้พิเศษมากๆเลยนะ คนที่คุมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั้นเมื่อรู้ว่าพวกเราเป็น นักเรียนต่างชาตินั้นเขาใจดีมาก เขาพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้หรอกแต่เราก็สื่อสารกันจนรู้เรื่องเขาบอกพวกเราว่าอยากจะขึ้นชมบนหอคอยไหมเหมือนว่าปกติจะไม่ได้เปิดนะ แต่เมื่อเขารู้เขาจึงอยากจะโชว์ความสวยงามให้เราได้ชมบอกเลยว่าตื่นเต้นมากๆๆชอบมากจริงๆนะ เลยเอาภาพกับคลิปมาฝากกันจ้า




         "พิพิธภัณฑ์ที่เมืองนี้ดูเรียบง่ายแต่ก็ถูกจัดแสดงและจัดวางไว้เป็นอย่างดีภาพแต่ละภาพจะอยู่ในหมวดหมู่ของมันเองและตามจุดต่างๆมีการใช้สีไฟให้เหมาะสมเพื่อที่จะแสดงความรู้สึกและอารมของภาพออกมาได้เป็นอย่างดี และที่ชอบมากๆคือบนยอดหอคอยที่ต้องเดินขึ้นบันไดหลายชั้นมากๆตลอดตามทางจะมีการติดหลอดไฟ LED บอกทางตลอดค่ะแม้แต่บนหอคอยเองก็มีการคิดไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น สังเกตุหลอดไฟได้จากคลิปวิดีโอนะจ๊ะ"


Wednesday, January 22, 2014

Lecture 1: Interactivity and Museum Design


Interactivity and Museum Design

           วิชา Interactivity and Museum Design เป็นวิชาที่พูดถึงเกี่ยวกับการโต้ตอบระหว่างคอมพิวเตอร์กับคนโดยจะสื่อออกมาในการนำเสนอ การจัดแสดงนิทรรศการ หรือ พิพิธภัณฑ์ โดยวิชานี้จะพูดถึงตั้งแต่การเริ่มคิดนิทรรศการว่าด้วยวิธีการคิด วิธีการนำเสนอว่าเราควรจะทำอย่างไรเพื่อจะให้ได้ออกมาซึ่งนิทรรศการหนึ่งๆให้ผู้ชมได้ชมและได้รับความรู้ตรงตามเป้าหมายและยังมีความรู้สึกสนุกสนานกับนิทรรศการนั้นๆอีกด้วย


           ก่อนที่เราจะเริ่มเรียนและเข้าใจถึง Interactive Computing นั้นเราต้องรู้ก่อนว่า Interactive Computing นั้นประกอบไปด้วยสองคำหลักๆที่เราจะต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ
Interactivity คือ การปฏิสัมพันธ์กันเช่นการ ฟัง, พูด, คิด ระหว่างคนสองคนขึ้นไป
Physical computing คือ การที่เราเขียนโปรแกรมทำให้สิ่งของใช้งานได้
           เมื่อทั้งสองคำมาอยู่ด้วยกันก็หมายความว่าการที่เราทำให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตสามารถทำงานได้โดยการทำงานนั้นสามารถโต้ตอบกับคนหรือผู้ใช้งานได้



Think out of box           
             การที่เราจะมองหาว่าเราจะประดิษฐ์สิ่งอะไรขึ้นมานั้นให้ดูน่าสนใจนั้นไม่ยากเลย แค่เราลองมองและคิดไม่เหมือนคนอื่น แค่เราเริ่มที่จะคิดนอกกรอบ (Think to possible) ของตัวเราเอง เราก็สามารถที่จะค้นพบได้ว่าโลกของเรานั้นมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์อยู่มากมายที่น่านำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นที่น่าสนใจอย่ายิ่ง


             ไม่จำเป็นว่าสิ่งที่น่าสนใจจะมาจากสิ่งใหญ่ๆหรือสิ่งที่ทำขึ้นมายาก แต่ถ้าเราค้นพบจุดแปลกใหม่แม้สิ่งนั้นจะทำขึ้นมาไม่ยากแต่มันก็น่าสนใจขึ้นมาได้ ในทางเดียวกันการที่เราจะทำให้สิ่งของที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะมีอะไรให้มันเด่นขึ้นมาได้นั้นก็ต้องใช้หลักการเหล่านี้ด้วยเช่นกันดังนั้นเรามาลองคิดนอกกรอบของเราที่เคยมีมา เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆกันดีกว่า





           "ข้าพเจ้าคิดว่าพื้นที่ตรงส่วนนี้ข้าพเจ้าอยากจะนำเสนอเนื้อหาความรู้ที่ได้เรียนในห้องและแนะนำนิทรรศการดีๆและนิทรรศการที่น่าสนใจให้กับผู้ที่สนใจได้ชมกันโดยถ้ามีโอกาสได้ไปที่ไหนก็จะนำมาแบ่งปันให้ได้ชมกันเพราะการเดินนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์ต่างๆมันมีอะไรที่ไม่เหมือนกันและมีอะไรมากกว่าที่คุณคิดเสมอ โดยส่วนตัวชอบเดินพิพิธภัณฑ์อยู่แล้วเพราะมักจะมีอะไรน่าตื่นตาตื่นใจและ ทำให้เราได้รับความรู้มาโดยที่เราไม่ได้ตั้งตัว ถือเป็นการได้สองต่อ ฮาๆ"