Monday, March 24, 2014

Lecture 8: Usability Engineering I

Usability engineering
     Usability คือการใช้งาน จึงเป็นที่มาของการทำ Usability Test คือการทดลองก่อนการใช้งานซึ่งไม่ได้มีแค่ขึ้นตอนสุดท้ายก่อนการใช้งานแบบที่ทุกคนเข้าใจเท่านั้นแต่การทำดังกล่าวรวมไปถึงตั้งแต่การหาหัวข้อที่จะทำงานด้วยซึ่งเราจะต้องมองว่าเหมาะกับสภาพแวดล้อมแบบใดและลองรับการทำงานของผู้ใช้งานแบบใด โดยมีวิธีหลายอย่างที่เราสามารถนำมาช่วยในการทำ Usability ได้ เช่น Paper photo type, แบบสอบถาม, การสำรวจ, การเก็บบันทึก, การสัมภาษณ์ 
      "การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนกันจะได้คำตอบที่ไม่เหมือนกัน ต้องเลือกเครื่องมือให้เข้ากับงานที่เราอยากจะได้นะจ๊ะ เช่น งานโปรเจ็คของเรานั้นตอนแรกอยากจะหาว่าปัญหาอะไรนะที่มันควรช่วยกันแก้ไขเลยลองสัมภาษณ์กับคนตัวต่อตัวทำให้ทราบว่าปัญหาเดินทางกลับบ้านในตอนกลางคืนดึกๆคนเดียวนั้นทำให้คนทั่วไปรู้สึกกลัวไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงที่อายุแตกต่างกัน หรือเลือกใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเพื่อมาทำการอ้างอิงในการตัดสินใจเลือกความสามารถให้กับแอพพลิเคชั่นของเราให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานให้มากที่สุด"
Know the user
      ก่อนจะทำสิ่งอื่นใด เราจะต้องรู้ก่อนว่าใครคือผู้ใช้งาน ความสามารถของผู้ใช้งานว่าเป็นผู้ใช้งานประเภทใด ใช้งานเพื่อทำอะไร ในสภาพแวดล้อมแบบไหน ถ้าเรารู้ก่อนเราจะสามารถสร้างงานที่ดีได้เพราะตรงกับผู้ใช้งาน
การสนทนาอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทาง:หลอกถามชวนคุยไปเรื่อยๆเพื่อเก็บข้อมูล
สังเกต: เครื่องมือที่มีประโยชน์ในการหาวิธีการที่คนทำงานจริงไม่ให้คนที่เราสังเกตุรู้ตัว
Circumvent ถ้ารู้ว่าถูกมองท่าทางกิริยาจะเปลี่ยนไป ควรหลีกเลี่ยงที่จะทำให้user สังเกตเห็น
Hawthorne รู้ว่าถูกสังเกตุแต่แกล้งเนียนทำเป็นเหมือนไม่เห็น ยังเล่นเกมแต่ก็ทำเป็นเหมือนตั้งใจเรียน 
Ethnography = Observation process ที่ฝังตัวอยู่แบบไม่ให้แปลกแยก ส่งคนเข้าไปสำรวจจากสถานที่จริง แต่เป็นการเข้าไปสำรวจแบบกลมกลืนเขารุ้ว่าเราไม่ใช้คนในบริษัทหรือหมุ่บ้านแต่การแต่งตัวหรืออะไรหลายๆอย่างที่เรากลมกลืน
แบบสอบถาม: ได้ผลดีสำหรับเรื่องการสังเกตุวิสัยการตอบสนอง แต่สังเกตุได้น้อยสำหรับวัตถุประสงค์ 
             การทำแบบสอบถาม ก็เพื่อจะได้รู้ว่ามีคนสนใจโปรเจคที่เราจะทำไหม อยากจะใช้ไหมหรือไม่ เมื่อเราผลิตออกมา โดยการถามจะถามไม่มากและเมื่อครบจำนวนที่ต้องการก็สรุปออกมาพิจารณา โดยที่แบบสอบถามสามารถถามทั้งปลายเปิด และ ปลายปิด โดยภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่ไม่กำกวม ถามตรงๆประเด็นหรือ yes/no question หรือให้ระดับเป็นสเกลก็ได้
สัมภาษณ์: คำถามที่ปิดและคำถามผสม 
กิจกรรมบันทึก: หากต้องการทราบว่าผู้ใช้อย่างไร และระยะเวลาที่ใช้เวลา
             หลักการทั้งหมดคือต้องการดู user behavior ของคน เพราะสามารถดูได้เยอะ เพราะคนพยายามจะเล่น ลองทดลอง ทำไม activity logging จึงสำคัญ ใช้ในเกมส่วนใหญ่จำท่าทางในการเล่นของคนเล่นและทำให้ยากขึ้นเรื่อยๆ
Topic พัฒนา algorithm ให้มันดีขึ้น
โดยแต่ละวิธีที่ได้กล่าวไปข้างต้น สามารถเลือกใช้ได้ให้เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการจะได้ข้อมูลแบบไหนจะได้ข้อมูลออกมาไม่เหมือนกัน
แบ่งตามหมวดหมูการใช้งาน
Direct user ได้รับผลจากการใช้งานโดยตรง, Indirect user ไม่ได้รับผลจากการใช้งานโดยตรง
Remote user, Support user    
แบ่งตามความสามารถในการใช้งาน
Novice user           มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์น้อยมากถึงไม่มีทักษะ ต้องการคนสอน
Intermittent user    คนที่ใช้งานแรกๆ
Expert user           ต้องการความช่วยเหลือน้อย สามารถใช้งานและศึกษาเองได้
Task analysis   รายการสิ่งที่ต้องทำว่าจะต้องทำอะไรตามขั้นตอนเพื่อให้งานออกมาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับการวิเคราะห์ผลงานมักจะวิเคราะห์ออกมาเป็นรูปของกราฟของงานหรืองานย่อย เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์และศึกษาต่อไป

Friday, March 14, 2014

Outside 4: TCDC


       ครั้งนี้เราจะพาทุกคนเที่ยวชมกันใน TCDC กันนะค่ะทางไปก็ง่ายเหมือนเคยจ้า แค่เราไปที่เอ็มโพเรียมและขึ้นมาที่ชั้นบนสุดเราก็สามารถพบกับ TCDC ได้จ้า โดยที่ TCDC นั้นจะแบ่งส่วนออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ด้วยกันคือ นิทรรศการถาวร นิทรรศการเวียนซึ่งตอนที่ไปจะเป็นเรื่อง Hello world และสุดท้ายคือส่วนของห้องสมุดจ้า

นิทรรศการถาวร
         ที่ TCDC นั้นจะเน้นเรื่องของเทรน แฟชั่น ดังนั้นในนิทรรศการถาวรจึงนำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นวิวัฒนาการของแต่ละสมัยว่าในสมัยนั้นๆตั้งแต่สมัยโบราณของทั่วทุกมุมโลกมีการวิวัฒนาการหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง




นิทรรศการเวียน
         อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านะจ๊ะว่าช่วงที่ไปนั้นกำลังนำเสนอนิทรรศการเรื่อง Hello World อยู่ โดยหลักๆก็คือนำเสนอเรื่องราวความเป็นไป การเปลี่ยนแปลงต่างรอบๆโลกโดยนำเสนอด้วยการแบ่งออกเป็น 4 หมวดในการเล่าเรื่องราวด้วยกัน คือ เหมือนหรือต่าง, บิด ปรับ แปลง, ของเก่าเท่ากับคุณค่าใหม่ ของใหม่คลี่คลายโจทย์เก่า และสุดท้ายโลกที่เป็นหนึ่งเดียว
เหมือนหรือต่าง
     จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบนโลกนี้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างแม้มันมีเหมือนๆกันแต่ในความเหมือนนั้นก็ยังคงมีความต่างที่เป็นของตนเองโดยยกตัวอย่างเมือง New York
     
     ยกตัวอย่าง 3 สิ่งด้วยกันที่เป็นเหมือนเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมือง New York คือบ้านที่มีบันไดหน้าบ้าน, รถแท็กซี่สีเหลือง และสวนสาธารณะกลางเมือง ซึ่งเมื่อเราเห็นเราสามารถบอกได้ทันทีว่านี่หละเมือง New York


        ยังมีอีกหลายอย่างที่บอกความเป็น New York ได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่บ่งบอกวิธีชีวิต การแต่กาย การเดินทาง หรือแม้แต่โลโก้สินค้า 


       และปิดท้ายด้วยการกระแทกแรงๆให้เรามองกระจกแล้วบอกว่าแล้วตัวเราหละ จริงๆเราเป็นแบบไหน

บิด ปรับ แปลง
        เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับไอเดียความคิดว่าถ้าเรานำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในแต่ละที่ ในแต่ละความชอบบางทีมันอาจจะเป็นการเข้ากัน หรือเกิดไอเดียใหม่ที่มันเจ๋งมากๆจนได้รับความนิยมก็เป็นได้

       นิทรรศการได้นำเสนอ แนวคิด ด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆทั่วๆไปหลายประเทศ ดังนี้

        รวดลายของชุดทหารที่เปลี่ยนไปตามสภาพอากาศของแต่ละตำแหน่ง หรือขนมช็อกโกแลตที่แถมของเล่นในต่างประเทศที่หนาวๆ จะทำได้เนื่องจากช็อกโกแลตจะไม่ละลายแต่เมื่อเปลี่ยนมาขายให้คนแถบร้อนทำให้ต้องเปลี่ยนแพคเกจใหม่เพื่อจะได้ลองรับต่อสภาพอากาศ

        หรือถุงโชคดีที่เป็นกุศโลบายในการระบายของของทางร้านที่จะบรรจุของในราคาที่เท่ากันและนำมาวางให้คนเสี่ยงดวงดูเมื่อซื้อไปใช้ หรือไม่ว่าจะเป็นชุดใส่แฮมเบอร์เกอร์ที่ออกแบบมาเพื่อบังปากและใบหน้าทำให้ยอดขายของทางร้านเพิ่มมากขึ้น

       นี่เป็นตัวอย่างสิ่งของที่พยายามจะบิด ปรับ เปลี่ยน มากเกินไปโดยที่ไม่คำนึงถึงคนที่อยู่ ทำให้เป็นการบิด ปรับ เปลี่ยน ที่เกิดความผิดพลาดชิ้นโตของประเทศจีนที่พยายามจะเปลี่ยนเมืองๆหนึ่งให้กลายเป็น ปารีส

ของเก่าเท่ากับคุณค่าใหม่ ของใหม่คลี่คลายโจทย์เก่า
      เป็นการนำเสนอสิ่งของจากสองแนวคิดที่ต่างกันคือ ของเก่านำมาดัดแปลงให้ใช้งานได้ใหม่กับ สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆขึ้นมาแก่ไขปัญหาเก่าๆ

หมวดแรกของเก่าเท่ากับคุณค่าใหม่
      เป็นการนำของเก่าๆที่มีอยู่เดิมๆมาเพิ่่มไอเดียเพิ่มมูลค่า อย่างจดหมวยเป็นการส่งข้อความในแบบเก่าๆแต่กลับถ่ายทอดส่งความรู้สึกให้กับเราได้เป็นอย่างดี ให้ที่นี้เปลี่ยนหมึกที่ใช้เขียนจดหมายจากหมึกธรรมดาเป็นหมึกกลิ่นกุหลาบที่ส่งถ่ายทอดความรู้สึกถึงผู้รับ  หรือไม่ว่าจะเป็นกล้องโพราลอยด์ธรรมดาๆแต่เรานำมาปรับเปลี่ยนให้มันใช้งานควบคู่กับโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันได้

      ร้านขายของมือสองในญี่ปุ่นเพิ่มมูลค่าและความรู้สึกให้กับของมือสองโดยของมือสองทุกชิ้นที่ถูกขายในร้านนั้นจะมีข้อความจากเจ้าของเก่าบอกเล่าว่าทำไมจึงอยากจะนำของใช้มาขายต่อเช่นต้องการส่งความรู้สึกดีๆเวลาใช้ให้กับคนอื่นได้ทดลองใช้ หรือไม่ว่าจะเป็นโปรเจ็คนำกางเกงยีนไปให้คนหลายๆอาชีพใส่จากนั้นนำกลับมาและขายต่อรายในกางเกงของคนแต่ละอาชีพก็จะไมาเหมือนกันเป็นการสร้างจุดขายให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดีทีเดียว

       ส่วนชิ้นนี้เป็นเหมือนจุดขายของที่นี่เลยจ้าเพราะนำเครื่องพิมพ์ดีดมาดัดแปลงให้สามารถใช้งานกับไอแพทได้เปรียบเสมือนเป็น Key Board ให้กับจอไอแพท

ของใหม่คลี่คลายโจทย์เก่า
        แนวคิดเกี่ยวกับปํญหาที่มีแต่อดีตแต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้แต่ตอนนี้มีนวัตกรรมที่จะมาตอบโจทย์เรียบร้อยแล้ว อย่างเช่น บวบเราคงคิดว่าสามารถนำมาบริโภคเป็นอาหารได้เพียงอย่างเดียวแต่จริงๆแล้วเราสามารถนำบวมมาสะกัดและทำที่ดักเสียงในห้องเก็บเสียงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นเสื้อหนาวที่ถ้าต้องการป้องกันหิมะเราก็จะซื้อเป็นขนเป็ดแบบทางด้านขวาแต่ปัจจุบันนวัตกรรมนั้นก้าวไกลเราสามารถใส่เสื้อหนาวตัวบางๆทางด้านซ้ายก็สามารถป้องกันความหนาวได้แล้ว

        หรือไม่ว่าจะเป็น3D printing ที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราที่ต้องการประดิษฐ์ของเราสามารถประดิษฐ์ของขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของเราได้โดยที่สามารถออกแบบเองได้

โลกที่เป็นหนึ่งเดียว
       จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นทำให้คนทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกทำอะไรก็ได้ตามที่ใจต้องการ โดยไม่ต้องยึดติดกับสิ่งใดๆ

       การที่เรามีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกให้ตัวเองขาวหรือว่าดำก็ได้เพราะทุกวันนี้นวัตกรรมนั้นก้าวไกลมากมายที่จะมาช่วยตอบโจทย์ในสิ่งที่เราอยากได้ หรือแม้แต่ผู้ชายที่อยากจะเขียนคิ้วเพื่อให้ตัวเองดูดีก็สามารถทำๆได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นที่กันคิ้วแต่งหน้า

        ในตอนท้ายเราสามารถมาเล่นกันจอภาพซึ่งจอภาพอันนี้จะรวบรวม # ของานทุกๆชิ้นที่จัดแสดงว่าเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง เช่น เรากดเลือก # เรื่องความเชื่อ ผลงานหรือชิ้นงานไหนที่เกี่ยวข้องก็จะแสดงโชว์ให้เห็น

ห้องสมุด
       เป็นห้องสมุดที่รองรับคนที่กำลังมองหาหนังสือแนวอาร์ท เทรน วัสดุต่างเหมาะแก่คนเรียนด้านศิลป์และคนที่มีความคิดอยากจะเปิดธุรกิจใหม่ๆจะเหมาะมากเพราะมีหนังสือรองรับเรื่องนี้โดยเฉพาะ มีการใช้งานที่ Interact กับผู้ใช้งานที่เห็นหลักก็มีอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือผู้ใช้งานสามารถเข้าชมชั้นหนังสือแต่ละชั้นผ่านจอสัมผัสได้ว่าแต่ละชั้นมีหนังสืออะไรบ้าง กับอีกอย่างหนึ่งทีเป็นการใช้งานเสริมคือที่นี่ไม่มีการยืมคืนหนังสือ ถ้าผู้สนใจต้องการอ่านหนังสือจะต้องเข้ามาอ่านภายในห้องสมุดเท่านั้นทำให้ผู้ใช้งานจะต้องลำบากในการจำว่าหน้าที่อ่านนั้นค้างอยู่ที่หน้าไหนที่ให้ออกระบบที่คั่นหนังสืออัจฉริยะขึ้นมาคือ เมื่อเสียบคั้นไว้บรรณารักษ์จะทำการเซฟเลขหน้าเก็บไว้ให้กับผู้ใช้งานเมื่อมาใช้งานครั้งถัดไปสามารถเข้าอ่านข้อมูลได้ว่าอ่านค้างไว้ที่หน้าที่เท่าไร  

       ทางเข้าและทางออกของห้องสมุดจะมีบริการรับฝากนามบัตรให้กับสมาชิกอีกด้วยโดยจะแบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างดีเพื่อมีผู้สนใจก็สามารถมาหยิบไปได้

ฟังบรรยายในห้อง

          วันนี้ก็มีโอกาสได้ฟังเรื่องราวจากประสบการณ์จริงของผู้อำนวยการที่ TCDC ท่านได้อธิบายตอบปัญหาเรื่องที่พวกเราอยากรู้มากมาย และจากการฟังให้ความรู้สึกเหมือนการคุยกับรุ่นพี่มากกว่างั้นจะขอเรียกแทนว่าพี่นะจ๊ะ พี่เขาดูมีประสบการณ์มากในเรื่องของการทำมิวเซียม พี่เขาพูดคำหนึ่งที่ว่าถ้าให้อยากทำงานด้านนี้เราจะต้องโชว์ความแรด ความเจ๋งของเราออกมาให้ได้ โดยพี่เขาเล่าประสบการณ์ที่ได้ทำงานร่วมกับชาวต่างชาติ เช่น พี่เขาเล่าว่าของที่เช่ามาจากต่างชาติถูกนำมาด้วยวิธีที่เป็นพิธีรีตรองเช็คของเข้มมากทั้งตอนเอาของเข้าแล้วเอาของออก แต่พี่เขาบอกว่าการทำงานแบบนี้ก็ไม่ได้ลำบากซะที่เดียวแต่ว่าการทำงานแบบนี้ทำให้พี่เขาและทางทีมงานได้ฝึกฝนตนเองมากด้วย จากที่ฟังทำให้รู้สึกว่าท่าเราใจรักเราก็สามารถทำงานแบบนี้ได้เพราะของแบบนี้มันฝึกกันได้ พี่เขาเริ่มจากที่ตอนแรกไม่รู้ด้วยซำว่า 500 เมตรมันยาวขนาดไหน ดีค่ะได้ฟังจากผู้ที่ประสบการณ์จริงๆ เพราะมันทำให้เราได้อะไรเยอะดีค่ะ




Wednesday, March 12, 2014

Lecture 7: Infographics of Interaction Design and User Experience Design.


Interactive Design
      คือ การที่เราใช้ความรู้หลายด้านด้วยกันเข้ามาช่วงในเรื่องของการออกแบบและมองภาพรวมในการตัดสินใจออกแบบสิ่งต่างๆโดยใช้ความรู้หลายด้านเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็น HCL(Human Computer Interactive) UX(User experience) 

User centered design: การจะออกแบบการทำงานและชิ้นงานนั้นต้องคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นสำคัญอยู่แล้วเพราะว่าผู้ใช้งานก็คือคนที่จะตัดสินใจว่าจะใช้หรือไม่ใช้ชิ้นงานนั้นๆ "จากประสบการณ์จริงเหมือนกับงานหนึ่งๆของฉันที่จะต้องทำการสำรวจก่อนการทำเสมอว่าคนให้ความสนใจที่จะใช้หรือไม่ เพราะแค่เราสำรวจเราได้อะไรเยอะมากมายจากการสำรวจเพราะสิ่งที่ได้ข้อเสนอจะมาจากหลากหลายความเห็ยของคนบนสังคมทั้งอายุและหน้าที่การงานทำให้สิ่งที่ได้มานั้นมีความแปลกใหม่และอาจจะเป็นจุดที่เราคาดไม่ถึงก็เป็นได้"
`
Discovery ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
   Competitor การเปรียบเทียบมาปรับแนวคิดว่าเราทำแบบนี้หรือแบบไหนแตกต่างและดีกว่ายังไง
   Audience คนที่เราสำรวจหละเขาเป็นใคร คนดู, ผู้ใช้งาน, ผู้เข้าชม
   Scenarios คนสนใจงานด้านไหนไม่ว่าจะเป็น เล่นไรได้ การโต้ตอบที่เราสามารถใช้งานได้
   Content เราต้องตอบได้ว่าสิ่งที่เราจะทำนั้น มันเกี่ยวกับอะไร รายละเอียดของแต่ละสถานที่ เช่น TK park หนังสือ ,สสส
Concept การที่คนจะมองภาพรวมของงานออกมาได้ตรงกันนั้นขึ้นอยู่กับ Concept ว่าแสดงออกมาให้สื่อได้มากน้อยแค่ไหน
   Process flow ขั้นตอนการดำเนินงาน
   Site map ใช้อินเตอร์เน็ตเว็บเบราว์เซอร์เข้ามาอธิบายรายละเอียด
   Wire frames ออกแบบหน้าตา หรือรูปแบบงานโดยเขียนแบบที่เป็นสีขาวดำ บอกเฉยๆว่าหน้าตาของสิ่งนั้นๆเป็นยังไง
   Design ออกแบบชิ้นงานนั้นๆ
Prototyping&user testing ทำลองชิ้นงานก่อนใช้จริง
   Prototyping แบบจำลอง
   User testing ให้ผู้ใช้งานลองใช้งานจริง
   Review ร่วมแสดงความคิดเห็นหลังจากใช้งาน
   Approve พัฒนาแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด


Player center design: เป็นการมองภาพรวมล่วงหน้าใช้กับการออกแบบเกมเป็นส่วนใหญ่จะต้องมองว่าจะออกแบบเกมอะไรแล้วจะเล่นกับมันยังไง ใช้ท่ทางอะไรในการเล่น ซึ่งก็เหมาะกับการออกแบบ Interactive เหมือนกับเพราะเราต้องมองภาพรวมก่อนว่าจะออกแบบให้โต้ตอบกันด้วยวิธีใด


Mission management: การออกแบบให้มีภารกิจที่ต้องทำ
Motivation monitor: นำสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจแรงจูงใจมานำเสนอให้ผู้ใช้งานได้เห็นและสนุกไปกับมัน
Mechanics measure: ออกแบบชิ้นงานให้ถูกต้องตามกฏหมายกำหนดและลองรับการใช้งานให้เหมาะกับผู้ใช้งานมากที่สุด


Interaction design เพราะการ Interactive กับสิ่งของต่างๆมีวิธีทำและวิธีคิดมากมาย ก่อนที่จะออกแบบเราควรรู้ก่อนว่าเราต้องการออกแบบสิ่งๆนั้นมานั้นคนชอบหรือไม่และถ้าออกแบบมามันตรงตามงบประมาณที่มีอยู่หรือไม่จึงต้องมองความเหมาะสมในหลายๆด้าน

Desirability: ความพอใจที่จะเลือกทำในแบบต่างๆ อาจจะมาจากความชอบส่วนตน
Viability: ความสามารถแบบไหนที่พอจะเป็นไปได้ตามงบประมาณที่มีอยู่
Feasibility: เทคนิคและการจัดการที่สามารถทำให้มันเป็นไปได้

Secure interaction design



          ความปลอดภัยของผู้ใช้งานนั้นเป็นเรื่องหนึ่งเลยที่เราควรให้ความสำคัญกับมันเพราะว่าถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมาจะสร้างความเสียหายที่อาจจะคาดไม่ถึงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานพวก Hardware ที่จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยยิ่งกว่างานพวก Software


        เนื่องจากเป็น LECTURE ครั้งนี้ที่ได้จากการเรียนนอกสถานที่ ที่ TK PARK ดังนั้นจึงมีเกร็ดความรู้  เกี่ยวกับห้องสมุดที่น่าสนใจมาแนะนำกันจ้ามาเริ่มที่ที่แรกกันดีกว่า

ห้องสมุดที่เบอรีน (humboldt jacob-und-wilhelm-grimm-zentrum) : เป็นห้องสมุดที่แลดูแปลกตาจ๊ะ มีการออกแบบสถานที่ที่ใช้อ่านที่ดูแปลกตาโดยสิ้นเชิงกันการออกแบบสถานที่อ่านหนังสือหรือห้องสมุดทั่วๆไปนั้นเอง ซึ่งเป็นการแหวกแนวไปในทางที่ดีเพราะขนาดแค่เห็นเพียงภาพยังรู้สึกตื่นเต้นไปกับภาพที่เห็นและอยากจะลองไปอ่านหนังสือที่นั้นซักครั้งเลยค่ะ




ห้องสมุดไวม่าเมืองเกอเต้ (Weimar, Duchess Anna Amalia Library) :มีหนังสืออยู่สองหมวดที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานได้คือ หมวดหนังสือเก่ากับหมวดหนังสือใหม่ ทั่วๆไปจ้า ซึ่งที่นี้ดีอย่างค่ะพอเป็นส่วนของหนังสือเก่าโบราณก็จะมีการออกแบบสถานที่จัดเก็บให้สอดค้ลองกัน ซึ่งจะต่างโดยสิ้นเชิงกับสถานที่ที่ใช้จัดเก็บหนังสือในหมวดทั่วๆไปจ๊ะ สังเกตุได้จากภาพทางด้านล่างเลยนะ แล้วจะเกิดความคิดเดียวกันที่ว่าบรรยายกาศของสถานที่อ่านหนังสือเนี่ยมันมีส่วนกับการอ่านหนังสือจริงๆนะ ;)) 
หมวดหนังสือเก่า


หมวดหนังสือใหม่หรือหนังสือทั่วๆไป